ระบบการจัดแบ่งประเภทของความผิดปกติของกล้ามเนื้อ/ข้อต่อขากรรไกร
(Classification system of temporomandibular disorders)
           ปัจจุบัน TMD เป็นเพียงคำรวมที่ใช้เรียกความผิดปกติของกล้ามเนื้อและ/หรือข้อต่อขากรรไกร และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการปวดและ/
หรือความผิดปกติในการทำหน้าที่ของขากรรไกร ในลักษณะต่างๆ ทันตแพทย์สามารถใช้คำว่า TMD เพื่อบอกกลุ่มความผิดปกติของผู้ป่วย หรือใช้สื่อสารเพื่อ
ให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติที่มีเหตุมาจากกล้ามเนื้อ/ข้อต่อขากรรไกร แต่ไม่ควรใช้คำว่า TMDเพื่อวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยเพื่อนำไปสู่การรักษา เนื่องจาก
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ/ข้อต่อขากรรไกรแต่ละอย่าง มีความแตกต่างกัน และการรักษาก็แตกต่างกัน ทันตแพทย์จึงควรรู้จักและสามารถให้การวินิจฉัยแยก
ความผิดปกติเหล่านั้นได้โดยเฉพาะปัญหาที่พบได้บ่อยๆ อย่างไรก็ตามแม้ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและ / หรือข้อต่อขากรรไกรจะเป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 65 ปี
มาแล้วก็ตาม (หลังจากที่นายแพทย์ Costenได้อธิบายอาการปวดของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อขากรรไกร ในปี ค.ศ. 1934) แต่ระบบการจัดแบ่งประเภทของ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ/ข้อต่อขากรรไกรเท่าที่เสนอมาจนปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความสมบูรณ์ และยังต้องมีการพัฒนาต่อไป

         ในปัจจุบัน การแบ่งประเภทของ TMD มีมากมายหลายระบบ แต่ที่มีการอ้างอิงถึงค่อนข้างมากมีสองระบบ คือ
            1.   เกณฑ์การวินิจฉัย TMD โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปวดบริเวณช่องปาก-ใบหน้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ
                The American Academy of Orofacial Pain (AAOP) diagnostic criteria
(ปี ค.ศ. 1996 )1
            2.   เกณฑ์การวินิจฉัย TMD เพื่อการวิจัย หรือ The Research Diagnostic Criteria for TMD (RDC for TMD)
                       ที่เสนอโดย Dworkin และคณะ (ปี ค.ศ.1992)3


          
การจัดแบ่งประเภทของTMD โดย AAOPนั้น เกิดขึ้นโดยมีผลสืบเนื่องมาจากในปี ค.ศ. 1987 สมาคมโรคปวดศีรษะนานาชาติ (International
Headache Society หรือ IHS) ได้ปรับปรุงการจัดแบ่งประเภทของอาการปวดศีรษะขึ้นจากระบบเดิมที่มีมานาน ระบบใหม่นี้มีชื่อว่าClassification
and Diagnostic Criteria for Headache Disorders, Cranial Neuralgias andFacial Pain โดยได้รวมอาการปวดศีรษะอาจเกิดเนื่อง
จากความผิดปกติที่กล้ามเนื้อ / ข้อต่อขากรรไกรไว้ด้วย (ในหัวข้อที่ 11 ของระบบจัดแบ่งฯ คือ headache orfacial pain associated with
disorders of the cranium, neck, eyes, ears, nose,sinuses, teeth, mouth or other facial orcranial structures, ดูตารางที่ 2)
AAOP เองจึงได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การแบ่งประเภทของ TMDไว้จากเดิมที่ปรากฏในการจัดแบ่งประเภทของสมาคมปวดศีรษะนานาชาติ ข้อ 11 (ตารางที่ 3)
ให้มีความละเอียดและครอบคลุมขึ้น การที่ใช้ระบบจัดแบ่งTMD ร่วมกับระบบการวินิจฉัยของแพทย์พบว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น
มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเกิดความร่วมมือกันได้ง่ายขึ้นระหว่าง แพทย์ ทันตแพทย์ และผู้ให้บริการสุขภาพอื่นๆ
              ในระบบการวินิจฉัยนี้ กล่าวถึง ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint disorders) (IHS classi
fication ข้อ 11.7)และความผิดปกติของกล้ามเนื้อขากรรไกร (masticatory muscle disorders) (IHS classification ข้อ 11.8)รวม
ทั้งมีการจำแนกความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ (cranial bones) และขากรรไกรล่าง (IHS classification ข้อ 11.1) ไว้ด้วย

              ตารางที่ 2 การจัดแบ่งประเภทของอาการปวดศีรษะ โดย International Headache Society (IHS)1
        

              ตารางที่ 3 การจัดแบ่งประเภทของอาการปวดศีรษะ (ข้อ 11) ที่แนะนำโดย IHS