Video Learning
Temporalis muscle
Masseter muscle
Medial pterygoid muscles
Lateral pterygoid muscles
Sternocleidomastoid muscle
Trapezius muscle
Splenius capitis muscle
การตรวจกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
(muscle examination)
การตรวจกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่มีสุขภาพดี จะไม่พบอาการเจ็บปวดเวลาคลำ และเวลาทำหน้าที่ อาการทางคลินิกของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่ไม่ปกติ
คือมีอาการปวด มักเกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse) การได้รับภยันตรายทางร่างกาย (physical trauma) เช่นกล้ามเนื้อถูกดึงยืดมากเกินไป
( overstretching ) หรือถูกชกต่อย กล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่ผิดปกติมักมีการหดเกร็งตัวที่ผิดปกติ (hyperactivity)
การหดเกร็งตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้น้อยลง มีผลทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ลดลง ขณะเดียวกัน
จะเกิดการสะสมของของเสีย (metabolic waste product ) และสารที่ทำให้เกิดการเจ็บปวด (algogenic substances) มีผลทำให้เกิดการเจ็บปวดของ
กล้ามเนื้อ (muscle pain) ขณะเดียวกัน CNS อาจมีส่วนร่วมในการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ (myalgia)
ในระยะแรกของการปวดกล้ามเนื้อ (myalgia) จะเกิดเฉพาะเวลาที่การทำหน้าที่ (function ) เท่านั้นแต่เมื่อมีการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
เกิดต่อเนื่อง อาการปวดกล้ามเนื้อจะเกิดนานขึ้น มีผลทำให้เกิดอาการปวดตื้อ ๆ (dull aching pain) ของกล้ามเนื้อทั้งมัด หากอาการปวดรุนแรงจะจำกัด
การเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ด้วย
ความรุนแรงของความเจ็บปวดและตำแหน่งที่เกิดอาการปวดหรือตึงล้า (tenderness)ของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะทราบได้การตรวจกล้ามเนื้อบด
เคี้ยว ซึ่งทำได้โดย
- คลำกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (direct palpation)
- functional manipulation
Muscle palpation
การตรวจกล้ามเนื้อทำได้โดยใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้ หรือใช้นิ้วชี้กดบนกล้ามเนื้อที่ต้องการตรวจด้วยแรงที่นุ่มนวลและมั่นคง (soft but firm pressure)
เป็นเวลาประมาณ 1-2 วินาที ขณะคลำกล้ามเนื้อบดเคี้ยวให้ถามความรู้สึกของผู้ป่วยไปด้วย เช่นรู้สึกปวด หรือรู้สึกตึงล้า ฯลฯ
อาการปวด (pain) เป็น subjective การรับความรู้สึกและแสดงออกแตกต่างกันในแต่ละบุคคล และอาจแบ่งระดับความรู้สึกของผู้ป่วย
ขณะคลำกล้ามเนื้อเป็น 4 ระดับดังนี้
0 = ไม่มีอาการ
1 = รู้สึกตึงล้า (tenderness)
2 = ปวด (pain)
3 = ปวดมาก น้ำตาไหลเมื่อไปกดโดนกล้ามเนื้อมัดนั้นและผู้ป่วยไม่ยินยอมให้ตรวจซ้ำ
การตรวจคลำกล้ามเนื้อนอกจากต้องการตรวจดูว่ามีอาการตึงล้าหรือปวดแล้ว ยังตรวจหา trigger points ด้วย มักตรวจพบในผู้ป่วยที่เป็น
myofascial pain เมื่อตรวจพบ trigger points ต้องประเมินรูปแบบและทิศทางของการส่งความเจ็บปวดไปยังบริเวณอื่น (pattern of pain referral )
โดยกดที่บริเวณ trigger points ประมาณ 4 5 วินาที แล้วถามผู้ป่วยว่ารู้สึกปวดร้าวไปที่บริเวณใด