การซักประวัติผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดบริเวณขากรรไกร ใบหน้า และช่องปาก
การซักประวัติผู้ป่วยอาจทำได้ วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
             1. ทันตแพทย์ซักถามผู้ป่วยโดยตรง วิธีนี้จะได้ข้อมูลที่สำคัญครบถ้วนหรือไม่ขึ้นกับความสามารถของทันตแพทย์ผู้นั้น
             2. ใช้แบบสอบถาม  ซึ่งวิธีนี้จะได้ข้อมูลที่สำคัญครบถ้วน แต่แบบสอบถามที่เป็นมาตรฐานบางคำถาม อาจไม่ตรงกับปัญหาของผู้ป่วยบางคน เมื่อให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามตามลำพังเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์สามารถนำเอาแบบสอบถามนั้นมาซักถามผู้ป่วยเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม และบางปัญหาของผู้ป่วยที่ไม่ตรงกับในแบบสอบถามหรือบางปัญหาที่ผู้ป่วยกังวลก็สามารถซักถามกับทันตแพทย์ได้
             การซักประวัติในแบบสอบถามควรมี medical questionaire เพื่อจะได้ทราบประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญที่ก่อให้
เกิดความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว
             การซักประวัติผู้ป่วยที่ครอบคลุมครบถ้วน  ควรยึดเอา อาการสำคัญ (chief complaint)  ของผู้ป่วยเป็นประเด็นหลักและเป็นจุดเริ่มต้นที่จะโยงไป
หาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด สำหรับ chief complaint ให้ผู้ป่วยอธิบายถึงปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมาและอาจบันทึกเป็นคำพูดของผู้ป่วยไว้
              การซักประวัติอาการปวดอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนครอบคลุมเป็นสิ่งสำคัญมากในการนำไปสู่การวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาที่ประสบผลสำเร็จ นอกจากซักถามอาการสำคัญของผู้ป่วยแล้วควรประเมินประวัติการเจ็บป่วย ประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยทั่วไป และ ประเมินสภาพจิตใจด้วย
ดังหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้
               .....................................................................

  1. อาการสำคัญ (chief complaint) Click
  2. การเจ็บป่วย (medical history)  Click      
  3. สภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยทั่วไป (review of system) Click
  4. สภาพจิตใจ (psychological assessment) Click

  5. ...........................................................................

1. Chief Complaint 
            การซักประวัติผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วย chief complaint ซึ่งอาจบันทึกโดยใช้คำพูดของผู้ป่วยหรือเปลี่ยนจากคำพูดของผู้ป่วยมาเป็นศัพท์วิชาการ
ผู้ป่วยบางคนอาจมี chief complaint มากกว่า 1 อย่าง จะต้องบันทึกไว้หมดโดยเรียงลำดับตามความสำคัญ แต่ละ complaint ต้องประเมินให้ละเอียด และประเมินว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาต่อไป
                       
A. ตำแหน่งของอาการปวด Location of the pain
            ให้ผู้ป่วยระบุตำแหน่งที่มีอาการปวด พร้อมกับชี้บอกตำแหน่งด้วย  จะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค แต่ตำแหน่งของความเจ็บปวด
(site of pain) อาจไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดของความเจ็บปวด (source of pain) ที่แท้จริงก็ได้ นอกจากนั้นอาจให้ผู้ป่วยวาดบริเวณของความเจ็บ
ปวดลงบนรูปภาพศีรษะและใบหน้า และใช้ลูกศรแสดงลักษณะการส่งความเจ็บปวดไปยังบริเวณอื่น (pattern of pain referral ) ซึ่งการใช้รูปภาพจะช่วย
ให้ทันตแพทย์ทราบถึงบริเวณที่มีความเจ็บปวดของผู้ป่วย  ตลอดจนชนิดของความเจ็บปวดจากประสบการณ์ของผู้ป่วย

B. Onset of the pain
            ซักถามผู้ป่วยว่าอาการปวดเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้ามีเหตุการณ์ใดเกิดร่วมกับการเริ่มต้นมีอาการเจ็บปวด เหตุการณ์นั้นอาจเป็นสาเหตุได้ เช่นมี
อาการปวดเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันภายหลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจึงน่าจะเป็นสาเหตุของอาการปวด
            บางครั้งอาการปวดอาจเกิดร่วมกับโรคทางระบบ (systemic illness) หรือเกิดร่วมกับการทำหน้าที่ของขากรรไกร (jaw function) หรืออาจเกิดขึ้น
เอง (spontaneous) แต่สิ่งที่สำคัญคือควรบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นมีอาการเจ็บปวดเป็นวัน/เดือน/ปี  เพื่อประเมินความสัมพันธ์ที่
อาจเกี่ยวข้อง

C. Characteristics of the pain
             ลักษณะของความเจ็บปวด  ต้องซักถามผู้ป่วยโดยละเอียดในสิ่งต่อไปนี้

       1. Quality of the pain
        เป็นการจำแนกความเจ็บปวดตามผลของความเจ็บปวดต่อความรู้สึกของผู้ป่วย อาจจำแนกเป็น
               - bright = ความเจ็บปวดนั้นมีผลต่อผู้ป่วยเป็นแบบ  stimulating or exciting effect
               - dull = ความเจ็บปวดนั้นมีผลต่อผู้ป่วยเป็นแบบ depressing effect
               - pricking sensation =  ปวดแปลบเหมือนโดนเข็มตำ (bright + tingling)
               - itching = คัน เป็น  superficial discomfort  ที่ไม่ถึงระดับ pain threshold intensity
               - tenderness = รู้สึกตึงล้า (diffuse sensation of pressure ) ที่ยังไม่ถึงระดับของ pain threshold intensity เช่นกัน
               - aching = ปวด
               - throbbing = ปวดตุบ ๆ
               - burning = ปวดแสบปวดร้อน
       2. Behavior of the pain ประกอบด้วย
           a. Temporal behavior เป็นความถี่  (frequency) ของการเกิดอาการเจ็บปวด และระยะเวลาของการเกิดความเจ็บปวดแต่ละช่วง ได้แก่
                    - intermittent มีระยะเวลาที่มีอาการปวดสลับกับระยะเวลาที่ไม่มีอาการปวด (pain –free period)
                    - continuous มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง
                    - variability มีอาการปวดไม่คงที่จะมีอาการปวดมากบ้างน้อยบ้างสลับไปมา
                    - recurrent  การเกิดอาการปวดกำเริบ
           b. Pain duration ระยะเวลาที่เกิดอาการปวด
                    - momentary = อาการปวดนั้นเกิดระยะเวลาสั้นๆ เป็นวินาที
                    - ระยะเวลาที่เกิดอาการปวดนานขึ้น อาจเป็นนาที ชั่วโมงหรือเป็นวัน
           c. Localization  หมายถึงอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นผู้ป่วยสามารถบอกตำแหน่งที่เกิดได้ชัดเจนหรือไม่
                    - localized pain  ผู้ป่วยสามารถบอกตำแหน่งที่เกิดอาการปวดได้อย่างถูกต้องชัดเจน
                    - diffuse pain ผู้ป่วยไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน
                    - radiating pain  อาการปวดนั้นแผ่ออกไปอย่างรวดเร็ว
                    - spreading pain อาการปวดแผ่ออกไปอย่างช้าๆ  ถ้าอาการปวดนั้นแผ่เข้าไปยังบริเวณใกล้เคียงด้วยเรียก enlarging
                    - migrating pain อาการปวดนั้นย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
                    - secondary pain  อาการปวดนั้นถูกส่งต่อมาจากที่อื่น (referred pain)
    3. Intensity of the pain
                ความรุนแรงของอาการปวด มีได้ตั้งแต่ น้อย ปวดรำคาญจนกระทั่งถึง ขั้นเจ็บปวดจนทนไม่ได้
อาจให้ผู้ป่วยระบุค่าความปวดเป็นตัวเลข ระหว่าง 0 ถึง 10 โดย 0 คือไม่มีอาการปวดเลย จนกระทั่ง 10คือขั้นเจ็บปวดจนทนไม่ได้ การประเมินระดับความเจ็บปวดควรประเมินทั้งในครั้งแรกที่ผู้ป่วยมาพบและในครั้งต่อ ๆ ไปที่มาติดตามผลการรักษา
   4. Concomitant symptoms
                หมายถึง อาการแสดงที่เกิดร่วมกับอาการปวดได้แก่ sensory, motor หรือ autonomic effects sensation  ได้แก่
                     - hyperesthesia
                     - hypoesthesia
                     - anesthesia
                     - paresthesia
                     - dysesthesia
                     - อาการที่เกิดร่วมอาจพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ special senses ซึ่งมีผลต่อการ มอง การได้ยิน การรับรส  หรือรับกลิ่นต้องจดบันทึกไว้
                     - motor changes จะแสดงออกในรูปของ
                               - กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscular weakness)
                               - กล้ามเนื้อหดเกร็งตัว  (muscular contraction or actual spasm)
                     - autonomic symptoms ได้แก่
                               - ocular symptoms เช่น lacrimation , conjunctivitis , puplillary changes และ  edema of the lids
                               - nasal symptoms เช่น nasal secretion , congestion
                               - cutaneous symptoms โดยพิจารณา skin temperature , color , sweating และ piloerection
                               - gastric symptoms  เช่น  nausea , indigestion
  5. Manner of flow of pain
               ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอาการปวดในลักษณะความถี่ (frequency) และ ช่วงระยะเวลาของอาการปวด ( duration)   เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะแตกต่างในแต่ละบุคคลที่พบได้  เข่น 
                     - steady  ปวดสม่ำเสมอ โดยความรุนแรงของอาการปวดจะอยู่ระดับใดก็ได้หรือมีระยะเวลาของการปวดเป็น intermittent ก็ได้
                     - paroxysmal pain  ปวดเป็นพัก ๆ ความรุนแรงของอาการปวดจะขึ้น ๆ ลง ๆ คือจะไม่คงที่ทั้งความรุนแรงและระยะเวลา
                ถ้าผู้ป่วยมิได้มีอาการอยู่ตลอดเวลาควรสอบถามผู้ป่วยด้วยว่าอาการปวดเกิด ถี่ เพียงใด เช่น ทุกชั่วโมง วันเว้นวัน หรือ ประมากเดือนละครั้ง
และแต่ละครั้งที่ปวด ปวดอยู่เป็ฯระยะเวลานานเท่าใด

D. Aggravating and alleviating factors
                สอบถามถึงปัจจัย ต่างๆ ที่ทำให้อาการปวดมากขึ้น (aggravating factors)    หรือทำให้อาการปวดลดน้อยลง (alleviating factors)
       1. Function and Parafunction 
การทำหน้าที่ หรือการเคลื่อนที่ของอวัยวะต่างๆ เช่นการเคลื่อนที่ของขากรรไกร หรือลิ้นหรือใบหน้า  ผลของตำแหน่งของศีรษะ การกลืน การพูด การเคี้ยว การหาวนอน มีผลอย่างไรต่อความเจ็บปวด อาการปวดสัมพันธ์กับการทำงานนอกหน้าที่ (parafunction) นิสัยเสียอื่นๆ  (oral habit) หรือไม่
       2. Physical modalities
ควรสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับผลของความร้อนหรือความเย็นต่ออาการเจ็บปวด หรือผล
ของสิ่งที่ใช้บำบัดอื่น ๆ หากเคยได้รับ เช่น การนวดหรือ TENS therapy  เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อชนิดของการรักษาและการตอบสนองต่อการรักษา          
       3. Medication
           ถ้าผู้ป่วยเคยได้รับยา ผลของยาเป็นอย่างไรและ ควรสอบถามเกี่ยวกับ
                 - ขนาดของยาที่รับประทานแต่ละครั้ง (dosage)
                 - ความถี่ห่าง (frequency)
                 - ใครเป็นผู้จ่ายยา
           
   4. Emotional stress
            ขณะซักประวัติผู้ป่วยควรประเมินระดับความเครียด (level of emotional stress) ของผู้
ป่วยด้วยแต่ทำได้ยาก ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเป็นระยะ ผู้ป่วยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่เป็นว่าสัมพันธ์กับความเครียดในขณะนั้นได้
อาจซักประวัติเกี่ยวกับความเครียดของผู้ป่วยทางอ้อม โดยถามถึงโรคประจำตัวที่สัมพันธ์กับความเครียด (psychopnysiologic disorders) เช่น  gastritis ,
hypertension , colitis
   5. Sleep quality
            อาการปวดบางอย่างอาจสัมพันธ์กับ quality of the patient ‘s sleep การที่ผู้ป่วยมี poor quality sleep ควรซักถามเกี่ยวกับ
                   - ผู้ป่วยเคยตื่นขึ้นมาพร้อมกับมีอาการปวดหรือไม่
                   - ผู้ป่วยเคยมีอาการปวดรุนแรงจนปลุกให้ตื่นหรือไม่
                                   
E. Past consultations and treatments
         ขณะซักประวัติควรถามเกี่ยวกับ all previous consultations and treatments ให้ละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งตรวจ
ซ้ำหรือการรักษาซ้ำ หากข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วยไม่เพียงพอ ควรติดต่อกับแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อน เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
เลือกวิธีบำบัดรักษาในอนาคต
         ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยใส่  occlusal appliance มาก่อนให้ผู้ป่วยนำเครื่องมือดังกล่าวมาด้วยในนัดครั้งต่อไป เพื่อประเมินผลของเครื่องต่อการ
บำบัดรักษา และเพื่อการวางแผนรักษาต่อไป
                                   
F. Relationship to other pain complaints
          ผู้ป่วยบางคนอาจมี pain complaint  มากกว่า 1 อย่าง  ทันตแพทย์จะต้องประเมินแต่ละ complaint  บาง complaint  อาจเกี่ยวเนื่อง
(secondary to ) กับอีก  complaint  ดังนั้นการบำบัดรักษา primary pain complaint ที่ได้ผลดีก็ย่อมจะแก้ปัญหาของ secondary pain complaint  ไปด้วย
บางกรณีแต่ละ complaint  ไม่สัมพันธ์กันเลย  (totally independent) ดังนั้นการรักษาจึงเฉพาะแต่ละ complaint (individual therapy) การประเมินว่า
แต่ละ complaint มีความสัมพันธ์กันหรือไม่เป็นสิ่งสำคัญ และสิ่งที่ช่วยได้ดีที่สุดคือ การซักประวัติผู้ป่วย

 

2.Past medical history
           ความเจ็บปวดอาจเป็นอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยทางร่างกาย ควรถามประวัติความเจ็บป่วยทางร่างกาย
ทั้งในอดีตและปัจจุบันให้ละเอียด เช่น การป่วยหนักต้องนอนโรงพยาบาล เคยได้รับการผ่าตัด หรือการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หรือการรักษาอื่นๆ
ที่เคยได้รับที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยในปัจจุบัน หากมีประวัติดังกล่าวอาจต้องติดต่อแพทย์ที่เคยรักษาเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษา
เกี่ยวกับการบำบัดรักษาที่จะให้กับผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยมีโรคประจำตัว


3. Review of system
            การซักประวัติที่สมบูรณ์จะต้องรวมเอาสถานะภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วยไว้ด้วย โรคทางระบบเหล่านี้ได้แก่
                  - cardiovascular (including lungs) system
                  - digestive system
                  - renal system
                  - liver
                  - peripheral nervous system and  CNS
                    ซึ่งโรคทางระบบเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กับ pain complaint  ของผู้ป่วย


4. Psychologic assesment
                   หากอาการปวดของผู้ป่วยเป็นชนิดเรื้อรัง มักจะพบว่ามี psychologic factors เกี่ยวข้องบ่อยๆ ดังนั้น การประเมินสภาพจิตใจ
(psychologic evaluation) ของผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังจึงจำเป็น แต่ไม่จำเป็นเท่าใดนักสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน (acute pain)
                   การประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังโดยทันตแพทย์ทำได้ยาก และการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังอาจ
ต้องปรึกษาจิตแพทย์ ในลักษณะ multidisciplinary approach ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วยแพทย์หลายสาขาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการ
รักษาที่ครอบคลุม