Orofacial Pain   .
Clinical Examination                                                   Department of Oral Occlusion, Faculty of Dentistry, ChulalongkornUniversity.....
 

                                   
การตรวจกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (muscle examination)
                                    การตรวจกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่มีสุขภาพดี จะไม่พบอาการเจ็บปวดเวลาคลำ และเวลาทำหน้าที่ อาการทางคลินิกของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่ไม่ปกติคือมีอาการปวด มักเกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse) การได้รับภยันตรายทางร่างกาย (physical trauma) เช่นกล้ามเนื้อถูกดึงยืดมากเกินไป
( overstretching  ) หรือถูกชกต่อย กล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่ผิดปกติมักมีการหดเกร็งตัวที่ผิดปกติ (hyperactivity)
                                    การหดเกร็งตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้น้อยลง มีผลทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ลดลง ขณะเดียวกันจะเกิดการสะสมของของเสีย (metabolic waste product ) และสารที่ทำให้เกิดการเจ็บปวด  (algogenic substances) มีผลทำให้เกิดการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ (muscle pain) ขณะเดียวกัน CNS อาจมีส่วนร่วมในการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ (myalgia)
                                    ในระยะแรกของการปวดกล้ามเนื้อ (myalgia) จะเกิดเฉพาะเวลาที่การทำหน้าที่ (function ) เท่านั้นแต่เมื่อมีการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเกิดต่อเนื่อง อาการปวดกล้ามเนื้อจะเกิดนานขึ้น มีผลทำให้เกิดอาการปวดตื้อ ๆ (dull aching pain) ของกล้ามเนื้อทั้งมัด หากอาการปวดรุนแรงจะจำกัดการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ด้วย
                                    ความรุนแรงของความเจ็บปวดและตำแหน่งที่เกิดอาการปวดหรือตึงล้า (tenderness)ของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะทราบได้การตรวจกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ซึ่งทำได้โดย
                                    - คลำกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (direct palpation)
                                    - functional manipulation
                                   
Muscle palpation
                                    การตรวจกล้ามเนื้อทำได้โดยใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้ หรือใช้นิ้วชี้กดบนกล้ามเนื้อที่ต้องการตรวจด้วยแรงที่นุ่มนวลและมั่นคง (soft but firm pressure) เป็นเวลาประมาณ 1-2 วินาที ขณะคลำกล้ามเนื้อบดเคี้ยวให้ถามความรู้สึกของผู้ป่วยไปด้วย เช่นรู้สึกปวด หรือรู้สึกตึงล้า ฯลฯ
                                    อาการปวด (pain) เป็น subjective การรับความรู้สึกและแสดงออกแตกต่างกันในแต่ละบุคคล และอาจแบ่งระดับความรู้สึกของผู้ป่วยขณะคลำกล้ามเนื้อเป็น 4 ระดับดังนี้
                                    0 = ไม่มีอาการ
                                    1=  รู้สึกตึงล้า (tenderness)
                                    2 = ปวด (pain)
                                    3 = ปวดมาก น้ำตาไหลเมื่อไปกดโดนกล้ามเนื้อมัดนั้นและผู้ป่วยไม่ยินยอมให้ตรวจซ้ำ
                                       การตรวจคลำกล้ามเนื้อนอกจากต้องการตรวจดูว่ามีอาการตึงล้าหรือปวดแล้ว ยังตรวจหา trigger points ด้วย มักตรวจพบในผู้ป่วยที่เป็น myofascial pain เมื่อตรวจพบ  trigger points ต้องประเมินรูปแบบและทิศทางของการส่งความเจ็บปวดไปยังบริเวณอื่น (pattern of pain referral ) โดยกดที่บริเวณ trigger points ประมาณ 4 – 5 วินาที แล้วถามผู้ป่วยว่ารู้สึกปวดร้าวไปที่บริเวณใด

Temporalis muscle
Origin ประกอบด้วย 3 ส่วน (functional areas)
                                       1. anterior region      คลำบริเวณเหนือ zygomatic arch  หน้าต่อ TMJ การเรียงตัว
                                                                        ของ muscle fibers เป็นแนวดิ่ง (vertical direction)
                                       2. middle region        คลำบริเวณเหนือ  TMJ และเหนือกว่า zygomatic arch การ
                                                                        เรียงตัวของ muscle fibers  เป็นแนวเฉียง (oblique direction)
                                                                        ข้ามด้านข้าง (lateral aspect) ของกะโหลกศีรษะ
                                       3. posterior region    คลำบริเวณเหนือและหลังหู การเรียงตัวของ muscle fibers เป็น
                                                                        แนวนอน (horizontal direction)
                                       ถ้าไม่แน่ใจว่าวางตำแหน่งของนิ้วมือถูกต้องหรือไม่ ให้ผู้ป่วยกัดเน้นฟัน temporalis muscle จะหดเกร็งตัวทำให้รู้สึกได้ ควรคลำกล้ามเนื้อทางด้านซ้ายและขวาพร้อม ๆ กัน และทันตแพทย์ควรอยู่ทางด้านหลังของผู้ป่วย ขณะเดียวกันก็ถามความรู้สึกของผู้ป่วยไปด้วย 

Insertion
                                       Muscle fibers  ของ  temporalis muscle จะเรียงตัวเข้าหากันสิ้นสุดลงเป็น tendon
เกาะที่บริเวณ coronoid process ของ mandible  การตรวจ insertion ของ temporalis muscle  ทำได้โดยตรวจใน
ปากใช้นิ้วมือลูบจาก  anterior border of the ramus  ขึ้นไปจนถึง  coronoid process  จะคลำถูก  tendon ของกล้ามเนื้อมัดนี้  ถามความรู้สึกของผู้ป่วยขณะคลำกล้ามเนื้อด้วย

Masseter muscle
            การตรวจ กล้ามเนื้อมักไวต่อการกดเจ็บกว่า กล้ามเนื้อขมับ ในการตรวจควรคลำและกดกล้ามเนื้อให้ทั่วทั้งสองข้างพร้อมกันหรือตรวจทีละข้าง โดยใช้มืออีกข้างหนึ่งประคองใบหน้าของผู้ป่วย การตรวจให้คลำและกดจากนอกช่องปาก โดยเริ่มจากบริเวณที่ยึดเกาะด้านบนไปยังด้านล่าง  คลำและกดบริเวณจุดกำเนิดของกล้ามเนื้อ ตั้งแต่หน้าข้อต่อขากรรไกรประมาณ 1 เซนติเมตร (ซึ่งเป็นส่วนลึกของกล้ามเนื้อ) ไล่ไปด้านหน้าตามขอบล่างของส่วนโค้งกระดูกโหนกแก้ม(zygomatic arch) ไปยังขอบหน้าของกล้ามเนื้อที่บริเวณโหนกแก้ม การตรวจบริเวณส่วนลึกของกล้ามเนื้อต้องวางนิ้วมือหน้าต่อตำแหน่งข้อต่อขากรรไกรเล็กน้อยจะรู้สึกว่านิ้วมือขยับไปตามจังหวะของการกัด
คลำและกดบริเวณส่วนกลางของเรมัสของกระดูกขากรรไกรล่าง หรือส่วนที่อยู่ใต้ต่อส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม
(zygomatic arch) เล็กน้อย เริ่มคลำและกดจากขอบหน้าของกล้ามเนื้อไปด้านหลังและลงมาด้านล่างให้ทั่วบริเวณ
คลำและกดบริเวณที่อยู่เหนือและหน้าต่อมุมขากรรไกรล่าง ประมาณ 1 เซนติเมตร ไล่มาทางด้านหน้าจนถึงขอบหน้ากล้ามเนื้อ

Medial pterygoid muscles
            ในทางปฏิบัติไม่นิยมคลำกล้ามเนื้อที่ผ่านในช่องปาก โดยของกระดูกขากรรไกรล่าง เพราะมักทำให้ผู้ป่วยเกิดรีเฟล็กซ์หรือทำให้ผู้ป่วยเจ็บมากกว่าปกติ
            Okeson  แนะนำให้ตรวจกล้ามเนื้อนี้โดยใช้วิธีให้กล้ามเนื้อทำงาน (functional test หรือ  functional manipulation) ถ้ากล้ามเนื้อนี้เป็นจุดกำเนิดของความปวด  เมื่อให้ผู้ป่วยกัดฟันแน่น หรือแม้ให้ผู้ป่วยกัดบนไม้กดลิ้นจะทำให้ปวดมากขึ้น

 

Lateral pterygoid muscles
          กล้ามเนื้อนี้มีสองส่วน คือ กล้ามเนื้อส่วนบน (superior lateral pterygoid) และกล้ามเนื้อส่วนล่าง (interior lateral pterygoid) ทั้งสองส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน
เนื่องจากตำแหน่งทางกายวิภาคไม่เอื้ออำนวย ทำให้ไม่สามาถคลำและกดกล้ามเนื้อนี้ได้โดยตรง แต่อาจทำได้คร่าว ๆ โดยการคลำและกดผ่านในช่องปาก
            การตรวจ ให้ผู้ป่วยอ้าปากและขยับขากรรไกรเล็กน้อยไปด้านที่ต้องการตรวจ ผู้ตรวจวางนิ้วชี้บนด้านข้างของกระดูกเบ้ารากฟันกรามของขากรรไกรบน เคลื่อนนิ้วไปด้านหลังจนสุดและหันขึ้นด้านบน ออกแรงกดเข้าด้านใน อาจใช้นิ้วก้อยแทนได้ กล้ามเนื้อมัดนี้มักกดเจ็บได้ง่ายแม้ในคนที่ไม่มีอาการใด ๆ

Sternocleidomastoid muscle
            กล้ามเนื้อมัดนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่างโดยตรง แต่มักมีอาการร่วมกับ TMDs  และเป็นกล้ามเนื้อที่คลำได้ง่าย
            การคลำจะคลำทีละด้านหรือคลำด้านซ้ายและขวาพร้อม ๆ กันโดยเริ่มที่บริเวณ insertion  ของกล้ามเนื้อมัดนี้คือที่ outer surface  ของ  mastoid process ด้านหลังหู แล้วคลำไล่ลงมาตามความยาวของกล้ามเนื้อมาสิ้นสุดที่ orgin ใกล้กับ  clavicle ขณะคลำถามความรู้สึกของผู้ป่วย และตรวจหา  trigger points ด้วย เพราะถ้าพบ trigger points ที่กล้ามเนื้อมัดนี้มักจะมี referred pain ไปที่  temporal , joint และบริเวณที่หู

Trapezius muscle
                  เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่บริเวณคอ ,ไหล่ และหลัง ไม่ได้มีบทบาทโดยตรงกับ jaw function  (เช่นเดียวกับ  SCM) แต่มักเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะบ่อย ๆ (common source) การตรวจคลำกล้ามเนื้อมัดนี้ทำได้ง่าย โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการตรวจหา  active trigger points  มากกว่าจะตรวจ shoulder function trigger point ที่ trapezius muscle  มัก refer pain  ไปที่บริเวณใบหน้า ถ้าผู้ป่วยมี facial pain เป็น  chief complaint  ควรตรวจสอบกล้ามเนื้อมัดนี้ตั้งแต่แรกว่าเป็น  source of pain หรือไม่
                  การตรวจ  upper part คือคลำบริเวณด้านหลังของ sternocleidomastoid muscle และ
คลำ inferolaterally ลงมาที่ไหล่

Splenius capitis muscle
              เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณคอด้านหลัง ไม่ได้มีบทบาทโดยตรงกับการทำหน้าที่ของขากรรไกร แต่มักเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะได้การตรวจทำได้โดยคลำบริเวณรอยหวำด้านล่างของกะโหลกศีรษะหลังต่อ mastoid process