3. การตรวจข้อต่อขากรรไกร
 
 
3. 1. การดูข้อต่อขากรรไกร
 
 
3. 2. การตรวจโดยการคลำและกด (Palpation)
 
 
 
3.3. การตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (TMJ sounds)
 
3. การตรวจข้อต่อขากรรไกร
Video Learning
3. 1. การดูข้อต่อขากรรไกร
Video Learning

3. 2. การตรวจโดยการคลำและกด (Palpation)

Video Learning Clip1 
Video Learning Clip2
3.3. การตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (TMJ sounds)
Video Learning Clip1
 Video Learning Clip2

3. การตรวจข้อต่อขากรรไกร
          วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในส่วน
                                ของข้อต่อขากรรไกรหรือไม่ อย่างไร
การตรวจข้อต่อขากรรไกร
          -   การตรวจโดยการดู
          -   การตรวจโดยการคลำและกด
          -   การตรวจเสียงที่ข้อต่อขอกรรไกร

3. การตรวจข้อต่อขากรรไกร
          วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในส่วนของข้อต่อขากรรไกรหรือไม่ อย่างไร
การตรวจข้อต่อขากรรไกร
          -   การตรวจโดยการดู
          -   การตรวจโดยการคลำและกด
          -   การตรวจเสียงที่ข้อต่อขอกรรไกร

          1.ให้ผู้ป่วยวางขากรรไกรล่างในตำแหน่งที่สบาย
          2. ผู้ตรวจวางนิ้วหัวแม่มือใต้ริมฝีปากล่างของผู้ป่วย ให้เห็นฟันหน้าล่างชัดเจนขึ้น
          3. ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะรู้สึกเจ็บปวดบ้างสังเกตเส้นทางการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่าง

          หมายถึง ก
ารยื่นขากรรไกร ดังนั้นการวัดระยะการเคลื่อนที่ขากรรไกรไปด้านหน้า (protrusive range of motion) จึงหมายถึง การวัดระยะที่ขากรร
ไกรล่างยื่นไปด้านหน้ามากที่สุด

วิธีตรวจ
       
1. ให้ผู้ตรวจอ้าปากเล็กน้อยและยื่นขากรรไกรล่างไปด้านหน้าให้มากที่สุด โดยไม่ให้ปลายฟันหน้าสัมผัสกัน
        2. วัดระยะจากด้านริมฝีปากของฟันตัดบนไปยังด้านริมฝีปากของฟันตัดล่างแล้วบันทึกผล ระยะยื่นขากรรไกรไกลที่สุดควรวัดได้
            ประมาณ 8-10 มิลลิเมตร
      ทั้งนี้ผู้ตรวจต้องนำระยะสบเหลื่อมในแนวนอนมาคิดด้วยเสมอ
            ไม่นิยมสอดนิ้วเข้าไปในรูหู เพราะแรงดันจากนิ้วมืออาจดั
นกระดูกอ่อนของหูไปชนกับด้านหลังของข้อต่อ หรือทำให้แผ่นรองข้อต่อ  (articular
disc) เปลี่ยนตำแหน่งทำให้เกิดเสียงขึ้น ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วอาจไม่มีเสียงก็ได้
           
            เสียงคลิก (click) หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆ ขณะที่ขากรรไกรกำลังเคลื่อนไหว และเป็นเสียงสั้นๆ ที่มี การตั้งต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน
เสียงคลิกที่เกิดขึ้นทั้งในขณะอ้าปากและหุบปาก แต่คนละตำแหน่งกันเรียกว่า รีซิโปรคอล คลิก (reciprocal click) เสียงนี้มักเกิดร่วมกับ การผิดตำ
แหน่งของแผ่นรองข้อต่อชนิดที่เข้าที่เองได้(disc displacement with reduction)
            เสียงคลิกนี้พบได้บ่อยกว่าเสียงกรอบแกรบ ถ้าเสียงนั้นคล้ายเสียงที่เกิดจากการ หักข้อนิ้วมืออาจเรียก เสียงป๊อบ (pop snapping sound)
ซึ่งเสียงนี้อาจเกิดจากคอนดายล์และแผ่นรองข้อต่อ (disc-condyle complex) เคลื่อนผ่านปุ่มกระดูก (articular eminence) ออกมาอย่างทันทีทันใด
            เสียงกรอบแกรบหรือเสียงครูด (crepitus grating) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว คล้ายกับเสียง
ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไถลบนผิวขรุขระ เป็นเสียงที่ไม่ได้ยินด้วยหูแต่รู้สึกได้จากแรงสะเทือนที่ปลายนิ้วที่วางบนข้อต่อ มักเกิด ร่วมกับการมี
ภาวะเสื่อม (degenerative change) ของข้อต่อขากรรไกร