2. การตรวจวัดระยะการเคลื่อนที่ของขากรรไกร
 
 
2.1.1 การเคลื่อนขากรรไกรในแนวดิ่ง
 
 
2.1.2 การวัดระยะการเคลื่อนที่ของขากรรไกรออกด้านข้าง
 
 
2.1.3 การวัดระยะการเคลื่อนขากรรไกรไปด้านหน้า
 
 
2.2 การตรวจแนวการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่าง  
 
3. การตรวจข้อต่อขากรรไกร
วัตถุประสงค์
3. 1. การดูข้อต่อขากรรไกร
Video Learning

3. 2. การตรวจโดยการคลำและกด (Palpation)

Video Learning Clip1 
Video Learning Clip2
3.3. การตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (TMJ sounds)
Video Learning Clip1
 Video Learning Clip2

2.1.1 - การเคลื่อนขากรรไกรในแนวดิ่ง
           หมายถึง การอ้าปากและหุบปาก ดังนั้นการวัดระยะการเคลื่อนขา กรรไกรในแนวดิ่ง  (vertical range of motion) จึงหมายถึง การวัดระยะการอ้า
ปากกว้างที่สุด (maximal opening)

วิธีตรวจ
         
1. ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้
          2. ผู้ตรวจวางไม้บรรทัดที่ปลายฟันตัดล่างในแนวดิ่ง และวัดระยะจากปลายฟันตัดล่างไปยังปลายฟันที่ตัดบน(ระยะจากจุดอ้างอิง) ใช้หน่วย
เป็นมิลลิเมตร โดยปกติควรอ้าปากกว้างได้ ประมาณ 3 นิ้วมือ ระยะการอ้าปากกว้างที่สุด
         ระยะอ้าปากปกติควรมีวัดได้ประมาณ 45-55 มิลลิเมตร โดยเฉลี่ยผู้ชายอ้าปากได้กว้างกว่าผู้หญิงประมาณ 4-5 มิลลิเมตร ทั้งนี้ผู้ตรวจ
ต้องนำระยะสบเหลี่ยมในแนวดิ่งของผู้ป่วยมาคิดด้วยเสมอ ถ้าผู้ป่วยสบฟันปกติ ให้นำระยะสบเหลื่อมในแนวดิ่งมารวมกับระยะห่างระหว่างปลายฟันตัด
บนและล่างในขณะอ้าปากกว้างที่สุด
          ถ้าผู้ป่วยมีฟันหน้าสบเปิด (anterior openbite) ให้เอาระยะสบเปิดไปหักจากระยะห่างระหว่างปลายฟันตัดบนและล่าง
          เมื่อตรวจพบว่าผู้ป่วยอ้าปากได้น้อยกว่าที่ควรทันตแพทย์ควรพิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว
          วิธีหนึ่งที่อาจช่วยในการพิจารณา ได้แก่ การทดสอบ end feel

ความรู้สึกต้านที่ปลายนิ้วเมื่อช่วยผู้ป่วยให้อ้าปากมากที่สุด มี 2 อย่าง
     1. hard end feel ผู้ตรวจจะรู้สึกแข็งเมื่อพยายามอ้าปากผู้ป่วย มักเกี่ยวข้องกับปัญหาในข้อต่อขากรรไกร
     2. soft end feel  ผู้ตรวจจะรู้สึกหย่อนหรือฝืด คือมีแรงต้านเล็กน้อยหรือมากขึ้น แต่ยังสามารถอ้าปากผู้ป่วยให้กว้างขึ้นได้อีกเล็กน้อย
         มักเกี่ยวข้องกับปัญหาของกล้ามเนื้อขากรรไกร
และให้หุบปากช้าๆ จนฟันสบกันสนิทแล้วให้ผู้ป่วยเคลื่อนที่ขากรรไกรไปด้านซ้าย ด้านขวาและยื่นไปด้านหน้าด้วย สังเกตว่ามีเสียงเกิดขึ้นหรือไม่
ให้ผู้ป่วยเคลื่อนขากรรไกรไปทิศต่างๆ ซ้ำสัก 3 ครั้ง
            ไม่นิยมสอดนิ้วเข้าไปในรูหู เพราะแรงดันจากนิ้วมืออาจดันกระดูกอ่อนของหูไปชนกับด้านหลังของข้อต่อ หรือทำให้แผ่นรองข้อต่อ  (articular
disc) เปลี่ยนตำแหน่งทำให้เกิดเสียงขึ้น ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วอาจไม่มีเสียงก็ได้
           
            เสียงคลิก (click) หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆ ขณะที่ขากรรไกรกำลังเคลื่อนไหว และเป็นเสียงสั้นๆ ที่มี การตั้งต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน
เสียงคลิกที่เกิดขึ้นทั้งในขณะอ้าปากและหุบปาก แต่คนละตำแหน่งกันเรียกว่า รีซิโปรคอล คลิก (reciprocal click) เสียงนี้มักเกิดร่วมกับ การผิดตำ
แหน่งของแผ่นรองข้อต่อชนิดที่เข้าที่เองได้(disc displacement with reduction)
            เสียงคลิกนี้พบได้บ่อยกว่าเสียงกรอบแกรบ ถ้าเสียงนั้นคล้ายเสียงที่เกิดจากการ หักข้อนิ้วมืออาจเรียก เสียงป๊อบ (pop snapping sound)
ซึ่งเสียงนี้อาจเกิดจากคอนดายล์และแผ่นรองข้อต่อ (disc-condyle complex) เคลื่อนผ่านปุ่มกระดูก (articular eminence) ออกมาอย่างทันทีทันใด
            เสียงกรอบแกรบหรือเสียงครูด (crepitus grating) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว คล้ายกับเสียง
ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไถลบนผิวขรุขระ เป็นเสียงที่ไม่ได้ยินด้วยหูแต่รู้สึกได้จากแรงสะเทือนที่ปลายนิ้วที่วางบนข้อต่อ มักเกิด ร่วมกับการมี
ภาวะเสื่อม (degenerative change) ของข้อต่อขากรรไกร