2. การตรวจวัดระยะการเคลื่อนที่ของขากรรไกร
 
 
2.1.1 การเคลื่อนขากรรไกรในแนวดิ่ง
 
 
2.1.2 การวัดระยะการเคลื่อนที่ของขากรรไกรออกด้านข้าง
 
 
2.1.3 การวัดระยะการเคลื่อนขากรรไกรไปด้านหน้า
 
 
2.2 การตรวจแนวการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่าง  
 
3. การตรวจข้อต่อขากรรไกร
วัตถุประสงค์
3. 1. การดูข้อต่อขากรรไกร
Video Learning

3. 2. การตรวจโดยการคลำและกด (Palpation)

Video Learning Clip1 
Video Learning Clip2
3.3. การตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (TMJ sounds)
Video Learning Clip1
 Video Learning Clip2

3.3. การตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (TMJ sounds)
            เสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (TMJ sounds) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นที่ข้อต่อขากรรไกร ในขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว อาจเป็นความสั่นสะเทือน (joint
vibration) ที่สัมผัสได้จากการคลำบริเวณข้อต่อด้วยนิ้วมือ (palpation) หรือเป็นเสียงที่ได้ยินโดยตรง (audible sound)  โดยผู้ตรวจหรือผู้ป่วยเอง หรือต้องใช้เครื่องตรวจฟัง (stethoscope)
            โดยปกติการเคลื่อนไหวข้อต่อขากรรไกรไปในทิศใด ๆ จะไม่มีเสียงเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์การตรวจ
            เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยมีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกรขณะเคลื่อนไหวขากรรไกรหรือไม่หากมีเสียงนั้นเป็นอย่างไรเกิดขึ้นสม่ำเสมอหรือไม่ และเกิดขึ้นตำแหน่งใด

อุปกรณ์ตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร
            ปกตินิยมตรวจโดยใช้สัมผัสจากการคลำ ด้วยปลายนิ้วมือ หรืออาจใช้เครื่องตรวจฟัง (stethoscope) ร่วมด้วย
            ปัจจุบันยังไม่นิยมใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในการตรวจเสียงที่ข้อต่อขากรรไกรเนื่องจากเครื่องมือมีความไวสูงทำให้ตรวจพบเสียง
อื่นที่ไม่ต้องการตรวจร่วมด้วย

สิ่งที่ควรตรวจ
ตรวจว่ามีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกรหรือไม่ และตำแหน่งของเสียงที่เกิดขึ้นที่ใดของระยะการเคลื่อนที่ของขากรรไกร

วิธีตรวจ
            วางปลายนิ้วชี้เบา ๆ บนด้านข้างของข้อต่อขากรรไกรทั้งสองข้าง แล้วให้ผู้ป่วยอ้าปากช้า ๆ ให้กว้าง ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะรู้สึกปวดบ้างก็ตาม
และให้หุบปากช้าๆ จนฟันสบกันสนิทแล้วให้ผู้ป่วยเคลื่อนที่ขากรรไกรไปด้านซ้าย ด้านขวาและยื่นไปด้านหน้าด้วย สังเกตว่ามีเสียงเกิดขึ้นหรือไม่
ให้ผู้ป่วยเคลื่อนขากรรไกรไปทิศต่างๆ ซ้ำสัก 3 ครั้ง
            ไม่นิยมสอดนิ้วเข้าไปในรูหู เพราะแรงดันจากนิ้วมืออาจดันกระดูกอ่อนของหูไปชนกับด้านหลังของข้อต่อ หรือทำให้แผ่นรองข้อต่อ  (articular
disc) เปลี่ยนตำแหน่งทำให้เกิดเสียงขึ้น ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วอาจไม่มีเสียงก็ได้
           
            เสียงคลิก (click) หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆ ขณะที่ขากรรไกรกำลังเคลื่อนไหว และเป็นเสียงสั้นๆ ที่มี การตั้งต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน
เสียงคลิกที่เกิดขึ้นทั้งในขณะอ้าปากและหุบปาก แต่คนละตำแหน่งกันเรียกว่า รีซิโปรคอล คลิก (reciprocal click) เสียงนี้มักเกิดร่วมกับ การผิดตำ
แหน่งของแผ่นรองข้อต่อชนิดที่เข้าที่เองได้(disc displacement with reduction)
            เสียงคลิกนี้พบได้บ่อยกว่าเสียงกรอบแกรบ ถ้าเสียงนั้นคล้ายเสียงที่เกิดจากการ หักข้อนิ้วมืออาจเรียก เสียงป๊อบ (pop snapping sound)
ซึ่งเสียงนี้อาจเกิดจากคอนดายล์และแผ่นรองข้อต่อ (disc-condyle complex) เคลื่อนผ่านปุ่มกระดูก (articular eminence) ออกมาอย่างทันทีทันใด
            เสียงกรอบแกรบหรือเสียงครูด (crepitus grating) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว คล้ายกับเสียง
ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไถลบนผิวขรุขระ เป็นเสียงที่ไม่ได้ยินด้วยหูแต่รู้สึกได้จากแรงสะเทือนที่ปลายนิ้วที่วางบนข้อต่อ มักเกิด ร่วมกับการมี
ภาวะเสื่อม (degenerative change) ของข้อต่อขากรรไกร