การวินิจฉัยแยกอาการปวดบริเวณช่องปาก-ใบหน้า (Differential diagnosis of orofacial pain)

2. อาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาทร่วมระบบหลอดเลือด (neurovascular disorders)
 ในที่นี้หมายถึง อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ (primary headache disorders) ซึ่งมีสาเหตุจาก พยาธิสภาพของระบบประสาทร่วมระบบหลอดเลือด มีกลไกการ
เกิดเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ไปกระตุ้นการตอบสนองของระบบหลอดเลือด จึงเรียกว่า ระบบประสาทควบคุมหลอดเลือดหรือระบบประสาทร่วมหลอดเลือด
(neurovascular) การปวดศีรษะเนื่องจากเหตุเหล่านี้มีหลายลักษณะ เช่น ไมเกรนที่มีอาการนำ(migraine with aura),ไมเกรนที่ไม่มีอาการนำ
(migraine without aura), ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (cluster headache), อาการปวดศีรษะครึ่งซีกเป็นพักๆ (paroxysmalhemicrania), หลอดเลือดแดง
ที่ศีรษะอักเสบ (cranial arteritis)รวมทั้ง อาการปวดเหตุเส้นเลือดคาโรติด(carotidynia)เป็นต้น ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตุบๆ (throbbing), หรือปวดตาม
จังหวะชีพจร (pulsating pain), หรือปวดเป็นจังหวะ (beating pain)
              ไมเกรนที่มีอาการนำ(migrainewith aura) หรือคลาสลิกไมเกรน (classic migraine) เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่เกิดขึ้นโดย
ไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดมักเกิดบริเวณขมับหรือหน้าผาก เกิดได้นานเป็นชั่วโมง (4-72 ชั่วโมง) อาการปวดเป็นลักษณะปวดตุบๆและอยู่ในระดับปานกลางถึง
รุนแรง โดยมีอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทนำมาก่อน อาการนำอาจเป็นได้นาน 5-20 นาที หรือนานไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง และในขณะปวดศีรษะ มักมีอาการร่วม
คือ คลื่นไส้/อาเจียนอาการกลัวแสง (photophobia) และอาการกลัวเสียง (phonophobia)มักเป็นในเพศหญิง อายุ 20-40 ปี
              ไมเกรนที่ไม่มีอาการนำ (migrainewithout aura) มีลักษณะคล้ายคลาสิกไมเกรน แต่ไม่มีอาการนำอาการมักรุนแรงขึ้นจากทำกิจกรรมต่างๆ
HS ได้กำหนดเกณฑ์ไว้ว่า อาการกปวดต้องเกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อย 5 ครั้งและต้องมีอาการอย่างน้อย 2 อย่างของอาการดังต่อไปนี้ 1. ปวดข้างเดียว 2. ปวดตุบๆ
3.
ปวดปานกลางถึงรุนแรง 4. อาการปวดรุนแรงขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆ
              ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (cluster headache) มีอาการปวดรุนแรงข้างเดียว มักปวดตุบๆที่กระบอกตา รอบๆตา หรือขมับ และมักเป็นข้างเดียว
อาการปวดอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงยาวประมาณ 15-180 นาที และอาการปวดอาจเกิดวันเว้นวัน หรือปวดบ่อยถึงวันละ 8 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นวันละ 1-2 ครั้ง
อาการปวดจะเป็นหลายวันถึงหลายสัปดาห์ และมีช่วงเวลาที่หายจากอาการปวดเป็นเดือนถึงปี และอาจมีอาการร่วมได้แก่น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหลเหงื่อออก
บริเวณหน้าผาก เปลือกตาและใบหน้าข้างที่เป็นมีอาการบวม อาจมีอาการหนังตาตก (ptosis) และรูม่านตาหด(miosis) อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์พบได้ใน
เพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5-6 เท่า และพบน้อยกว่าไมเกรน 10-50 เท่า IHS กำหนดว่า ต้องมีอาการปวดแบบนี้เกิดขึ้น 5 ครั้งจึงจะวินิจฉัยว่าเป็นอาการปวด
ศีรษะคลัสเตอร์
              อาการปวดศีรษะครึ่งซีกเป็นพักๆ(paroxysmal hemicrania)
มีอาการคล้ายกับปวดศีรษะคลัสเตอร์ มักปวดบริเวณขมับรอบหู
(periauricular) รอบกระบอกตา (periorbital) มักเป็นข้างเดียวและไม่ค่อยจะเปลี่ยนข้าง อาจมีอาการปวดต่างที่ปรากฏที่ไหล่ คอ และแขน อาการปวดมักเกิด
เป็นระยะสั้นๆ(เป็นนาที, 13-29 นาที) อาการปวดมักเกิดขึ้นทุกวันประมาณ 6-15 ครั้งต่อวัน และปวดบ่อยกว่าอาการปวดคลัสเตอร์ อาการปวดเป็นลักษณะปวด
แปล๊บรุนแรง อาจมีอาการร่วมคือ ตาแดง น้ำตาไหลคัดจมูก น้ำมูกไหล มักเกิดกับเพศหญิง วัย30-40 ปี