7.
อาการปวดจากความผิดปกติทางจิต (mental
disorders) อาการผิดปกติทางจิตหลายอย่างที่มีผลต่อการรับความรู้สึกปวดของผู้ป่วย
หรือทำให้รู้
สึกเกิดอาการผิดปกติทางกายทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานแสดงความผิดปกติใด เช่น
ความผิดปกติในกลุ่มที่เรียก somatoform
disorders นอกจากนี้ปัญหาอื่นๆ
ในชีวิต เช่นปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวการงาน สังคม ปัญหาการปรับตัวปัญหาการเงิน
ฯลฯ ล้วนแต่เกี่ยวพันกับอาการปวด หรือทำให้เกิดความเจ็บป่วยตาม
มาได้อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการปวดมักมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจไม่มากก็น้อย
และจะชัดเจนขึ้นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในสภาวะปวดเรื้อรัง ผู้ป่วยปวดเรื้อรัง
(chronic
pain patient) มักสัมพันธ์กับการปรากฏภาวะซึมเศร้า กังวล หรือมีความคิดชิงลบซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ยากและ
ซับซ้อนขึ้น
ดังนั้นการจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยปวดมีปัญหาเนื่องมาจากสภาพจิตที่ผิดปกตินั้นเป็นเรื่องลำบาก
ผู้ป่วยควรต้องมีอาการและอาการแสดงที่จำเพาะ และต้องอาศัยผู้เชี่ยว
ชาญทางสุขภาพจิต มาร่วมในการประเมินผู้ป่วยมีอาการปวดแสบร้อนอยู่ตลอดเวลา โดยระดับความปวดไม่ลดลงอาจจะทำให้มีอาการความรู้สึกมากเกิน
(heperesthesia)
กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดเป็นพักๆ
(paroxysmal) ได้แก่ อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า
(trigeminal neuralgia),จากเส้นประ
สาทสมองคู่ที่เก้า (glossopharyngeal
neuralgia) และจากเส้นประสาทสมองที่อื่นๆอีก
เช่น Nervus intermedius (geniculate)
neuralgia
และ superior laryngeal neuralgia
ความผิดปกติที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า (Trgieminal
neuralgia
หรือ Tic douloureux) เป็นอาการ
ปวดแปล๊บ (stabbing, lancinating
pain) ที่เกิดเป็นชั่วระยะเวลาสั้นๆเป็นวินาที
และเกิดข้างเดียว อาการปวดเกิดขึ้นได้ทั้งขากรรไกรบนและล่างตามบริเวณ
ที่แขนงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ไปเลี้ยง และความปวดมักเกิดจากการกระตุ้นปกติยังบริเวณที่มีความไว
เช่น การล้างหน้าโกนหนวด แปรงฟัน การลูบหรือสัมผัส
ผิวหน้า ความชุกมักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มักพบในเพศหญิง ส่วน
อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9หรือ glossopharyngeal
neuralgia
ก็มีลักษณะ
อาการปวดคล้ายกัน แต่เกิดขึ้นกับบริเวณที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทสมองคู่ที่
9 อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 และ 9 นี้ พบได้น้อยกว่าอาการปวดที่มีเหตุจาก
ฟันและอวัยวะปริทันต์มาก นอกจากอาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาทสองกลุ่มใหญ่ๆที่กล่าวมาแล้วยังมี
กลุ่มความปวดที่คงอยู่ด้วยระบบซิมพาเธติก
(sympathetically maintained pain, SMP) เมื่อมีการบาดเจ็บจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นระหว่างประสาทนำเข้ากับประสาทซิมพาเธติก
และเกิดการสัญญาณ
ป้อนกลับให้คงความปวดไว้ โดยที่ผู้ป่วยจะหายจากอาการปวดได้จากการสกัดสัญญาณประสาทซิมพาเธติก
(sympathetic blockade) ที่ปมประสาทสเตลเลต
(Stellate ganglion block)