4.
อาการปวดจากความผิดปกติของอวัยวะต่างๆในปาก (intraoral
pain disorders) อาการปวดบริเวณช่องปาก-ใบหน้าส่วนใหญ่
มักมีเหตุจากความผิดปกติในช่องปาก ได้แก่ โรคฟัน และอวัยวะปริทันต์ โรคต่างๆของเยื่อเมือกและลิ้น
ซึ่งทันตแพทย์ควรมีความชำนาญในการวินิจฉัย
และให้การรักษาผู้เรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิชาอื่น
ถึงชีวิต ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในกะโหลกศีรษะ
ได้แก่ มีอาการปวดเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน, อาการปวดรุนแรงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ,ผู้ป่วยอาจ
ตื่นขึ้นเพราะความปวด อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อมีการออกแรง หรือเปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะ
เช่น การไอ จาม นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย
น้ำหนักลดกล้ามเนื้อทำงาน ไม่ประสานกัน (ataxia) มีไข้ร่วมกับอาการปวด,มีอาการและอาการแสดงทางระบบประสาท
(neurologic signs and
symptoms) เช่น ชัก เป็นอัมพาต อาการรู้สึกหมุน (vertigo) หรือมีอาการระบบประสาทบกพร่อง
(neurological deficits)
มีอาการปวดแสบร้อนอยู่ตลอดเวลา โดยระดับความปวดไม่ลดลงอาจจะทำให้มีอาการความรู้สึกมากเกิน
(heperesthesia)
กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดเป็นพักๆ
(paroxysmal) ได้แก่ อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า
(trigeminal neuralgia),จากเส้นประ
สาทสมองคู่ที่เก้า (glossopharyngeal
neuralgia) และจากเส้นประสาทสมองที่อื่นๆอีก
เช่น Nervus intermedius (geniculate)
neuralgia
และ superior laryngeal neuralgia
ความผิดปกติที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า (Trgieminal
neuralgia
หรือ Tic douloureux) เป็นอาการ
ปวดแปล๊บ (stabbing, lancinating
pain) ที่เกิดเป็นชั่วระยะเวลาสั้นๆเป็นวินาที
และเกิดข้างเดียว อาการปวดเกิดขึ้นได้ทั้งขากรรไกรบนและล่างตามบริเวณ
ที่แขนงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ไปเลี้ยง และความปวดมักเกิดจากการกระตุ้นปกติยังบริเวณที่มีความไว
เช่น การล้างหน้าโกนหนวด แปรงฟัน การลูบหรือสัมผัส
ผิวหน้า ความชุกมักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มักพบในเพศหญิง ส่วน
อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9หรือ glossopharyngeal
neuralgia
ก็มีลักษณะ
อาการปวดคล้ายกัน แต่เกิดขึ้นกับบริเวณที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทสมองคู่ที่
9 อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 และ 9 นี้ พบได้น้อยกว่าอาการปวดที่มีเหตุจาก
ฟันและอวัยวะปริทันต์มาก นอกจากอาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาทสองกลุ่มใหญ่ๆที่กล่าวมาแล้วยังมี
กลุ่มความปวดที่คงอยู่ด้วยระบบซิมพาเธติก
(sympathetically maintained pain, SMP) เมื่อมีการบาดเจ็บจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นระหว่างประสาทนำเข้ากับประสาทซิมพาเธติก
และเกิดการสัญญาณ
ป้อนกลับให้คงความปวดไว้ โดยที่ผู้ป่วยจะหายจากอาการปวดได้จากการสกัดสัญญาณประสาทซิมพาเธติก
(sympathetic blockade) ที่ปมประสาทสเตลเลต
(Stellate ganglion block)