การวินิจฉัยแยกอาการปวดบริเวณช่องปาก-ใบหน้า (Differential diagnosis of orofacial pain)

3. อาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาท (neurogenic pain disorders) เป็นอาการปวดที่มีเหตุมาจากความผิดปกติใน
การทำหน้าที่
ของระบบประสาท โดยที่โครงสร้างทางกาย (somatic structures) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการตรวจร่างกายจึงไม่พบพยาธิสภาพทางกาย
ใดๆ ทำให้การวินิจฉัยค่อนข้างยาก ความผิดปกติกลุ่มนี้แยกย่อยออกเป็น2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะอาการปวด ได้แก่
              กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดต่อเนื่อง (continuous) ได้แก่ กลุ่มอาการปวดจากการถูกตัด หรือทำลายเส้นประสาท (deafferentationpain
syndrome) ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดภายหลังจากที่เส้นประสาทมีการอักเสบ, ติดเชื้อ, ถูกกด (compression),บิดเบี้ยว (distorsion), เยื่อไมอิลินลอก
หลุด / ถูกทำลาย (demyelination) หรือขาดเลือด เช่น อาการปวดหลังจากเป็นโรคงูสวัสดิ์(peripheral post-herpetic neuralgia), อาการปวดหลังจาก
ได้รับภยันตรายต่อเส้นประสาท (post-traumatic neuralgia) และ อาการปวดหลังจากการผ่าตัด (post surgical neuralgia) เป็นต้น ผู้ป่วยมักรายงานว่า
มีอาการปวดแสบร้อนอยู่ตลอดเวลา โดยระดับความปวดไม่ลดลงอาจจะทำให้มีอาการความรู้สึกมากเกิน (heperesthesia)
              กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดเป็นพักๆ (paroxysmal) ได้แก่ อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า (trigeminal neuralgia),จากเส้นประ
สาทสมองคู่ที่เก้า (glossopharyngeal neuralgia) และจากเส้นประสาทสมองที่อื่นๆอีก เช่น Nervus intermedius (geniculate) neuralgia
และ superior laryngeal neuralgia
              ความผิดปกติที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า (Trgieminal neuralgia หรือ Tic douloureux) เป็นอาการ
ปวดแปล๊บ (stabbing, lancinating pain) ที่เกิดเป็นชั่วระยะเวลาสั้นๆเป็นวินาที และเกิดข้างเดียว อาการปวดเกิดขึ้นได้ทั้งขากรรไกรบนและล่างตามบริเวณ
ที่แขนงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ไปเลี้ยง และความปวดมักเกิดจากการกระตุ้นปกติยังบริเวณที่มีความไว เช่น การล้างหน้าโกนหนวด แปรงฟัน การลูบหรือสัมผัส
ผิวหน้า ความชุกมักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มักพบในเพศหญิง ส่วน อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9หรือ glossopharyngeal neuralgia ก็มีลักษณะ
อาการปวดคล้ายกัน แต่เกิดขึ้นกับบริเวณที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 อาการปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 และ 9 นี้ พบได้น้อยกว่าอาการปวดที่มีเหตุจาก
ฟันและอวัยวะปริทันต์มาก นอกจากอาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาทสองกลุ่มใหญ่ๆที่กล่าวมาแล้วยังมี กลุ่มความปวดที่คงอยู่ด้วยระบบซิมพาเธติก
(sympathetically maintained pain, SMP) เมื่อมีการบาดเจ็บจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นระหว่างประสาทนำเข้ากับประสาทซิมพาเธติก และเกิดการสัญญาณ
ป้อนกลับให้คงความปวดไว้ โดยที่ผู้ป่วยจะหายจากอาการปวดได้จากการสกัดสัญญาณประสาทซิมพาเธติก (sympathetic blockade) ที่ปมประสาทสเตลเลต
(Stellate ganglion block)